top of page

Johannes Brahms


สวัสดีครับวันนี้จะมาพูดถึง โยฮันเนส บรามส์ Johannes Brahms ( 1833 - 1897 ) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวเยอรมันในยุคโรแมนติก ที่หลายคนต้องเคยได้ยินชื่ออย่างแน่นอนเป็นนักประพันธ์ที่มีผลงานการประพันธ์โด่งดังหลายผลงาน

 

Early llife

Johannes Brahms นั้น เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1833 ที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศ

เยอรมนี ในชีวิตวัยเด็กของบารห์มนั้นไม่ค่อยดีนัก เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนมากๆ มีความเป็นอยู่ที่แร้งแค้นมากๆ บ้านที่อยู่ก็เก่าสกปรกอยู่ใน แถมยังเป็นสลัมที่สกปรกมากที่สุดดด​! ในเมืองฮัมบรูร์กเลยก็ว่าได้ แต่ว่าบราห์มนั้นโชคดีที่มีพ่อเป็นนักดนตรีชื่อว่า Johann jakob Brahms ทำให้เขาได้อยู่กับดนตรีแต่วัยเด็ก พ่อของเขามีลูกด้วยกัน 3 คน ส่วนบราห์มนั้นเป็นลูกคนที่สอง พ่อของเขาเป็น นักดับเบิ้ลเบสอาชีพ ประจำอยู่ที่โรงละคร Hamburg Sradt theater ที่ต้องหาทำงานหาเงินเลี้ยงชีพ ทั้งครอบครัว และรายได้จากไปเล่นดนตรีนั้นก็น้อยมากๆ ส่วน มารดา นั้นคอยทำงานบ้านเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านและ ทำงานเย็บปักถักร้อย ซึงน่าสงสารมากๆ

ในตอนเด็กบรามส์ นั้นได้ทำสิ่งที่เด็กหลายๆ คนไม่ได้ทำก็คือ เขาได้แต่งโน้ตเพลงโดยใช้ สัญลักษณ์แทน เสียงดนตรีต่างๆ และพ่อของเขาก็ได้เห็นเข้าก็เลย เห็นแววในตัวของบราห์ม ว่าต้องมีพรสวรรค์มาทางดนตรีอย่างแน่นอนก็เลยไม่มีเด็กที่ไหนคิดจะมาทำอะไรแบบนี้ในช่วงวัยนี้ หลังจากนั้นพ่อของบรามส์พยายามที่จะสอนดนตรีให้บราห์มอย่างตั้งใจ โดยเริ่มฝึกสอนไวโอลิน เชลโล่ และฮอร์น ทั้งที่ บราห์มพึ่งอายุ ได้ 6 ขวบ เท่านั้นเอง ซึ่งอาจจะเยอะไปหน่อย

หลังจากนั้นให้หลัง 2 ปี ในเมื่อ บารห์มอายุ 8 ขวบ พ่อของเขาก็ได้ส่งให้บราห์ม ไปเรียนเปียโนกับอาจารย์ Otto Franz Cosse เป็นครูเปีนโนที่มีฝีมือที่โด่งดังในท้องถิ่นนั้น ซึ่งบราห์มเป็นคนที่เรียนรู้ได้เร็ว ทำให้เขานั้นเรียนทุกเพลงที่เรียนกับครูคนนี้หมดทุกเพลง อย่างคล่องแคล่วแบบไม่น่าเชื่อ จนต่อมาในปี ค.ศ. 1843 อาจารนย์ คนนี้ก็ได้แนะนำให้ไปเรียนกับ Eduad Marxsen เป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง ณ ขณะนั้น ในการประพันธ์เพลง รวมทั้งทฤษฏีต่างๆ



โดยส่วนตัวของ บราห์มนั้นเป็นคนชอบ Johann -Sebastian Bach และ Ludwig van Beethoven เป็นอย่างมาก เมื่ออาจารย์มาร์กเซ็น เห็นความสามารถของบราห์ม ก็ได้สอนเทคนิคการเล่นของ บาค โมซาร์ท และเบโทเฟน ซึ่งทำให้ ทักษะการเล่นเปียโนของเขาได้เพิ่มขึ้นจนทำให้เขาได้ถูกรับให้ไปเล่น ที่ผับแห่งหนึ่งในนครฮัมบูร์กอีกด้วยิีก ทำให้หาเงินช่วยเหลือครอบครัวได้ด้วย และบราห์มก็ได้ศึกษาการปรพันธ์จากอาจารย์คนนี้อย่างตั้งอกตั้งใจตลอดเวลา จนบราห์มได้สร้างสรรย์ผลงานของตัวเองออกมาเรื่อยๆ จนถึงอายุ 18 ปี บราห์มก็ได้ แสดงเดี่ยวเปียโนครั้งแรกแลพเขาก็ได้นำผลงานของตัวเองออกมาแสดงด้วย

ปี ค.ศ. 1848 บราห์ม ได้จัดคอนเสิร์ตครั้งแรกในเมืองฮัมบูร์กในวันที่ 21 กันยายน โดยบราห์มได้เลือกนำเพลง Fugue ของบาค มาแสดง และหลังจากนั้นบราห์มก็ได้ใช้เวลาทั้งหมดไปที่การประพันธ์เพลง กว่า 150 เพลง ในตอนนั้น

จนมาถึงในปี ค.ศ. 1853 ด้วยความสามารถของบราห์มที่มีมาก ทำให้ได้รู้จักเพื่อนนักไวโอลิน ชื่อ Eduad Remenyi ซึ่งประทับใจในความสามารถของบราห์มมากๆ ก็เลยตัดสินใจออกตระเวนเปิดการแสดงด้วยกัน ในการที่ไปเปิดอการแสดงครั้งนี้เป็นเหมือนประตูที่ทำให้เขามีโอกาสได้พบกับนักไวโอลินชื่อดัง ณ ตอนนั้นก็คือ Joseph Joachim เป็นผู้ที่ประทับใจฝีมือของบราห์มเป็นอย่างมาก และแนะนำบารห์มนั้นรู้จักนักประพันธ์ คนอื่นๆอีกมากมาย เช่น ฟร้านซ์ ลิซท์ และ โรเบิต ชูมันน์ กับภรรยา คลาร่า ชูมันน์ ซึ่งต่อมาบาร์มก็ได้สนิทสนมกับ ชูมันน์ด้วยเป็นอย่างดี ก็เลยทำให้บารห์มได้รับ อิทธิพลการประพันฑธ์เพลงของชูมันน์ข้อนข้างมาก ระหว่างปี ค.ศ. 1857 ถึง ค.ศ. 1859 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนักร้องประสานเสียงประจำวังของเจ้าชายแห่งเด็ตโมลด์ ในช่วงเวลานี้เองก็ได้ทำให้บาร์มประพันธ์ เซเรนาดสำหรับออเคสตร้าสองบท และคอนแชร์โต้สำหรับเปียโนชื้นแรก นอกจากนี้บราห์มยังได้พบกับ Peter Cornelius เป็นนักประพันธ์ชาวเยอรมัน และนักเพลงอุปรากรในประเภท Comic opera ที่ชื่อว่า Joseph joachim Raff นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน

 

Start Tour 1853

ปี 1853 นี้เป็นปีที่ ชีวิตบรามส์นั้นได้เริ่มมีแต่สิ่งดีเข้ามา ตลอดเวลา ชีวิตเริ่มดีมีความสุข บรามส์ในปีนี้ได้เริ่มไปทัวร์คอนเสิร์ตตามเมืองต่างๆ ตั้งแต่เดือน เมษายน จนถึง พฤษภาคม เริ่มจากไปเมืองไวมาร์ และไปต่อที่เมืองโคโลญ ( Cologne ) ในการเดินทาครั้งนี้ก็ทำให้ได้รู้จัก เฟอร์ดินันด์ ฮิลเลอร์ (Ferdinand Hiller ) และคาร์ล เฮนริค ( Carl Heinrich Carsten Reinecke ) เป็นนักเปียโน นักไวโอลินและนักประพันธ์อยู่ที่ Colonge Conservatory

และ เดินทางต่อไปที่ Dusseldorf เป็นที่ทำให้เขาได้พบกับ ชูแมน (Robert Shumann) เป็นการพบกันที่น่าประทับใจมาก บราห์มได้ทำความรู้จักกับครอบครัวชูมานอย่างสนิทสนม และให้ความเคารพเป็นอย่างสูง และบราห์มก็ได้บรรเลงให้ชูมานและคนอื่นๆให้ฟัง และชูมานก็รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก จนเขาได้กล่าวไว้ว่าบราห์มนั้นเป็นอัจฉริยะเมื่อได้ฟังเพลงของบราห์ม ซึ่งชูแมนได้นำไปบันทึกในไดอารี่ของเขาด้วย และจนชูแมนต้องเขียนบทความยกย่องบรามส์ ลงนิตยาสาร ที่ชื่อว่า " The Neue Zaitschrift fur Musik " ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1853 ได้กล่าวไว้ว่า "เขาเป็นนักแต่งเพลงที่มีความสามารถมากและซักวันหนึ่งโลกนี้จะต้องยอมรับความสามารถของบรามส์อย่างแน่นอน " หลังจากที่นิตยาสารนี้ได้ตีพิมพ์ขาย ก็ทำให้บรามห์นั้นเป็นที่รู้จักในวงการดนตรีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บรามส์เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตเลยทีเดียว

เมื่อชูแมนได้เห็นว่าบรามส์นั้นเริ่มโด่งดังขึ้นแล้วชูแมนก็เลยเริ่ม ชักชวนให้สำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียง ให้มาพิมพ์ผลงานของบรามส์ อย่างต่อเนื่อง

หลังจากนั้นบรามส์ได้เดินทางต่อไปที่เมืองไลพ์ซิก ทำให้บรามส์นั้นได้พบกับ เฮ็คเตอร์ แบร์ลิออส (hector Berlioz) และได้แสดงคอนเสิร์ตที่เมืองนี้ ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1854 ต่อมาบรามส์ได้เดินทาง กลับไปที่ Dusseldorf และในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ชูแมนกำลังจะฆ่าตัวตายด้วยการป่วยทางจิต บรามส์เลยเข้ามาช่วยดูแลชูแมนด้วยความเป็นห่วงตลอด 3 ปี จนชูแมนนั้นเสียชีวิต กับ คลาร่า เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน

ในระหว่างที่คอยดูแลชูแมนบรามส์ก๋ได้หางานทำเป็นครูสอนสอนดนตรีที่เมืองนั้น เมื่อชูแมนถึงแก่กรรม บรามส์ก็ได้เพิ่มความสัมพันธ์กับคลาร่ามากขั้นเรื่อยๆ จนเป็นข่าวลือไปทั่วในเรื่องชู้สาว ทำให้มีข่าวมาอีกว่า ลูกคนสุดท้ายของคลาร่าอาเป็นลูกของบรามส์ก็เป็นได้ แต่ว่าข่าวที่ว่านั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะว่า คลาร่าแก่กว่าบรามส์ตั้ง 14 ปี

 

ปี ค.ศ. 1857 บรามส์ได้รับการรแต่งตั้งเป็นหัวหน้าวงดนตรี ของเจ้าชาย ที่ Detmold และในช่วงนี้บรามส์ก็ได้ให้กำเนิดเพลง Piano concerto No.1 in D minor เกิดขึ้นและเพลงอื่นๆอีกมากมาย และบรามส์ยังได้รับเกียรติให้เป็นครูสอนเปียโนให้แก่เจ้าหญิงเฟรเดริค อีกด้วย

ปี ค.ศ. 1859 บรามส์ได้นำเพลง Piano concerto No.1 in D minor มาออกแสดงครั้งแรกแต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จที่เมือง Hanover และในปีนี้บรามส์ก็ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง วงขับร้องประสานเสียงหญิงที่เมือง ฮัมบูร์กและกลับมาทำงานที่นี่อยู่พักหนึ่ง และกลับไปทำงานที่ detmold อักครั้ง จนครบสัญญา และกลับมาคุมวงขับร้องประสานเสียงหญิงที่เมือง ฮัมบูร์กอีกครั้งเป็นเวลา 2 ปี

ปี ค.ศ. 1863 บาร์มก็ได้เดินทางไป นครเวียนนา พร้อมกับการแสดงคอนเสิร์ตเพลง Piano Quartet Op.25 ที่เขาประพันธ์ขึ้น และในการไปครั้งนี้ก็ทำให้ได้พบกับ Richard Wagner และได้ถูกเชิญให้เป็นคอนดักเตอร์ของ วงขับร้องประสานเสียง Singakademieที่เวียนนา และตัดสินใจว่าจะทำงานที่นี่เป็นหลัก แต่ว่าหลังจากทำงานมาได้ 1 ปี บรามส์ก็ได้ลาออก

ปี ค.ศ. 1865 แม่ของบรามส์ได้เสียชีวิตลง ที่เมืองฮัมบูร์ก ทำให้บรามส์นั้นเสียใจเป็นอย่างมาก

ปี ค.ศ. 1866 ได้นำเพลง Ein Deutsches Requiem op.25 (No.5 ยังไม่เสร็จ) เมือง Karlsruhe โดยนี้แต่งเสร็จที่เมือง Baden-Baden และหลังจากนั้นก็เดินทางไปทัวร์คอนเสิร์ตกับนักไวโอลิน และไปเยี่ยมพ่อที่ฮัมบูร์กด้วยความคิดถึง

ปี ค.ศ. 1867 บรามส์ไปทัวร์คอนเสิร์ต ที่ออสเตรีย เมืองบูดาเปสต์ในฮังการี แฃะเดินทางไปที่เวียนนาในเดือนธันวาคมในปีนี้และแสดงคอนเสิร์ตเล็กน้อย

ปี ค.ศ. 1868 บรามส์ได้นำเพลงร้องที่ชื่อว่า Ein Deutsches Requie (No.5 ยังไม่เสร็จ ),Rinaldo The Liebeslieder the alto rhapsody, The Schicksalslied มาแสดงอีกครั้งโดยทำการแสดงที่เมือง Bremen เมื่อวันท่ี 10 เมษายน

ปี ค.ศ. 1869 ได้ทำการแสดง Ein Deutsches Requiem op.25 ที่แต่งเสร็จหมดแล้ว ที่ Leipzig และเพลงที่นำมาแสดงนี้เป็นเพลงที่ทำให้บรามส์นั้นเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ปี ค.ศ. 1871 บรามส์ได้แต่ง Triumphlied Op.55 เพื่อฉลองชัยชนะของที่เยอะรมันชนะสงครามกับฝรั่งเศษ และเมื่อนำเพลงนี้มาออกแสดงมีผู้ชมเข้ามาชมกันอย่างหนาแน่นแบบไม่น่าเชื่อ

ปี ค.ศ. 1872 ในต้นปีนี้บรามส์ก้ได้รับข่าวร้ายเนื่องด้วยพ่อของเขานั้นเสียชีวิตลง แต่ว่าบรามส์ก็ยังคงเดินทางต่อ โดยบรามส์ได้ไปรับตำแหน่งต่อผู้อำนวยการต่อจากรูบินสไตน์ ที่ Society of the Friends of music ที่เวียนนา

ปี ค.ศ. 1873 บรามส์ได้แต่งเพลง Variation on a Theme of Haydn และเมื่อแต่งเสร็จก็นำมาแสดงตอนปลายปี บรรเลงโดยวง Vienna Philharmonic และประสบความสำเร็จและทำให้บรามส์ อยากทำเพลงออเคสตร้าอีก

ปี ค.ศ. 1874 บรามส์เดินทางไปที่ Leipzig ทำให้ได้รู้จักนักเปียโน heinrich Von Herzogenberg ก็เดินทางไป Switzerland ในช่วงฤดูร้อน

ปี ค.ศ. 1875 บรามส์ก็ได้ลาออกจาก Society of the Friends of music ที่เวียนนาและได้เริ่มประพันธ์เพลง Symphony No.1 ขึ้น ที่มีชื่อเสียงอันโด่งดังมาถึงปัจจุบัน

ปี ค.ศ. 1876 Symphony No.1 ก็ได้เสร็จสมบูรณ์ และได้นำไปแสดงที่ Karlsruhe และ Munich มีคนได้กล่าวว่าเป็นเหมือนซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโทเฟ่นเลยทีเดียว

ปี ค.ศ. 1877 บรามส์ได้รับ ​เกียรติรับ Honorary Doctor degree จาก มหาวิทยาลัยเคมบริจแต่ว่าบรามสืนั้นได้ปฏิเสธ และในปีนี้เองบรามส์ก็ได้เริ่มแต่ง Symphony No.2

ต่อ โดยแต่งที่เมือง Portschach ระหว่างพักร้อน และก็ไปเสร็จเมื่อเขาอยู่ใกล้ๆเมือง Baden- Baden และเมื่อแต่งเสร็จก็ได้นำไปแสดงที่กรุงเวียนนา ในปีนี้ในเดือนธันวาคม แสดงโดยวง Vienna Philharmonic

ปี ค.ศ. 1878 บรามส์ได้เดินทางอิตาลี และเดินทางกลับมาพักร้อนที่ Portschach อีกครั้ง และได้แต่ง Violin Concerto in D major ให้ Joseph Joachim

ปี ค.ศ. 1879 บรามส์ได้นำ Violin Concerto in D major มาออกแสดงร่วมกับ Joseph Joachim และเป็นปีที่บรามได้รับ Honorary degree of doctor philosophy อีกครั้งจากมหาวิทยลัยเบรสลาอู เพื่อเป็นเกียรติ และในใบนั้นระบุไว้ว่า "The foremost living German master of the art of strict composition"

ปี ค.ศ.1880 บรามส์ได้แต่ง Academic Festival Overture โดยเพลงนี้บรามส์ได้ใช้ เคร้าโครงของเพลงนักศึกษาเยอรมัน มาแต่งเพลงนี้ และเพลง ​ Tragic overture op.81

ปี ค.ศ. 1881 บรามส์ได้นำเพลง Academic Festival Overture มาออกแสดงที่มหาวิทยาลับเบรสลาอุส ในเดือน มกราคม และบรามส์ก็ได้ออกเดินทางไปเนเธอร์แลนด์ และไปอังการีต่อ และก็ได้ไปพบกับลิซอีกครั้ง หลังจากนั้นก้เดินทางต่ออีกไปที่ วิลิลี และไปตากอากาศที่เมือง Pressbaum และแต่งเพลง Piano concerto No.2 โดยแต่งให้ อาจารย์ของเขาคือ Eduad Marxsen และนำไปแสดงครั้งแรกที่ บูดาเปส ในเดือนพฤษจิกายน โดยบรามส์นั้นเป็นผู้แสดงเอง และบรามส์ก็ได้ใช้เพลงนี้มาแสดงบ่อยๆ และเป็นผู้บรรเลงเอง

ปี ค.ศ. 1882 บรามส์ได้เดินทางไปอิตาลีอีกครั้ง และแต่ง Symphony No.3 ในปีนี้และแสดงในตอนนี้สิ้นปีนี้ บรรเลงโดยวง Vienna Philharmonic Society

ปี ค.ศ. 1884 บรามส์ได้ไปเที่ยวพักผ่อนที่ ออสเตรีย และในระหว่างนั้นก้ได้แต่ง Symphony No.4 ไปด้วยและเสร็จในขณะที่พักอยู่ที่นั่น

ปี ค.ศ. 1885 บรามส์ได้นำ Symphony No.4 มาแสดงครั้งแรกที่ Meiningen และที่ เวียนนาในปีถัดมา

ปี ค.ศ. 1886 ในปีนี้บรามส์ได้ทัวร์คอนเสิร์ตหลายแห่งด้วยกัน โดยเริ่มจากที่ เมือง Leipzig ในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อด้วยเดือนเมษายน แสดงที่เมืองฮัมบูร์ก และแสดงที่เมือง Thun ที่ Switzerland โดยบรามส์นั้นเป้นผู้ควบคุมวงเอง

ปี ค.ศ. 1887 บรามส์ได้เดินทางไปเที่ยวที่อิตาลี และต่อด้วยเมือง Thun อีกครั้ง

ปี ค.ศ. 1888 บราทส์ได้พบกับนักประพันธ์จากแดนไกลนั่นก้คือ Tchaikovsky ที่ เยอรมัน ในปีนีบรามส์ก็ได้ไปเที่ยวอิตาลีในฤดูใบไม้ผลิ และไปต่อที่เมือง Thun อีกรอบนึง

ปี ค.ศ. 1889 บรามส์ได้เกียรติอีกครั้งหนึ่งด้วยความสามารถการประพันธ์ ที่ทำให้รู้จักกันไปทั่วยุโรป จักรพรรติของออสเตรีย ที่นามว่า Emperor Francis Joseph ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชื่อว่า Order of Leopold ให้แก่บรามส์

ปี ค.ศ. 1890 -1893 บรามส์ ใช้เวลาทั้งหมด สามปีนี้ท่องเที่ยว ที่อิตาลี และ Switzerland

ปี ค.ศ. 1895 ปีนี้บรามส์ก็ได้ใช้เวลา ส่วนใหญ่ ไปเที่ยวพักผ่อน ที่ เมือง Ischl, Meiningen,Frankfert และได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายที่กรุงเวียนนา

ปี ค.ศ. 1896 ลูกของ คลาร่า ได้โรเลขมาบอกบรามส์ว่า คลาร่านั้นได้เสียชีวิตลงแล้วและบรามส์ก็รีบไปร่วมงานศพทันที และบรามส์ก็ได้เป็นคนฝังศพคลาร่า ด้วยมือของเขาเองด้วยความโศรกเศร้า และหลังจากนั้นบราทส์ก็ได้ไปเที่ยว ที่เมือง Ischl เป็นครั้งสุดท้ายและบรามส์ก็ได้เริ่มไม่ค่อยสบายขึ้นเรื่อยๆ จนบรามสืนั้นต้องไปหาหมอและก็พบว่าเขานั้นป่วยเป้นโรคมะเร็งตับ ก็ได้พักรักษาตัว

ปี ค.ศ. 1897 วันที่ 3 เมษายน และในวันนี้บรามส์ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งตับ ด้วยอายุทั้ง 64 ปี และศพของเขาได้ถูกฝังไว้ที่ Central Cemetery ข้างกับศพของ ชูเบิร์ตในกรุงเวียนนา


Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page